>>> บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

1.             ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ เครื่องอิเล็คทรอนิคส์ เป็นการประมวลผลข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนการทำงานสะดวก ถูกต้องรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เหมาะที่จะใช้เกี่ยวกับ งานการเงิน, สถิติ, และงานบัญชี เป็นต้น แบ่งได้ 3 วิธี คือ
                1.1 ขั้นเตรียมข้อมูล
     เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
                1.1.1. การลงรหัส
                1.2.2. การตรวจสอบ
                1.3.3. การจำแนก
                1.4.3. การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2.1. ขั้นตอนการประมวลผล
คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น  มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
                2.1.1 การคำนวณ                             
                2.2.2. การเรียงลำดับข้อมูล
                2.3.3. การสรุป
                2.4.4. การเปรียบเทียบ

3.1. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์   เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ  อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์  เป็นต้น

2.             จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
ตอบ
     บิต(Bit) หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล ,เลขฐาน 2 คือ 0,1
     ไบต์(Byte) การนำบิตมารวมกัน เรียกว่า ตัวอักขระ,ตัวอักษร
     ฟิลด์(Field) การนำไบต์หลาย ๆ ไปมารวมกัน เรียกว่า เขตข้อมูล
     เรคอร์ด (Record) การนำฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกัน เรียกว่า ระเบียน
     ไฟล์(File) การเรคอร์ดหลาย ๆ เรคอร์ดมารวมกัน เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
     ฐานข้อมูล (Database) การนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์มารวมกัน เรียกว่าฐานข้อมูล
ไบต์ (Byte) ได้แก่ ตัวอักษร เป็นการนำเอาบิตมารวมกัน โดย 8 bit = 1 Byte
ชื่อ
อักษรย่อ
จำนวนไบท์
กิโลไบท์ (kilobyte)
KB
1024 Bytes
เมกะไบท์ (Megabyte)
MB
1024 KB
กิกะไบท์ (Gigabyte)
GB
1024 MB
เทอราไบท์ (Terabyte)
TB
1024 GB
พีดาไบท์ (Pedabyte)
PB
1024 




3.             หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
ตอบ
 ยกตัวอย่าง   เช่น การจัดการเรื่องความปลอดภัย
1.              เรื่อง ขั้นตอน การทำงาน Procedure ที่ทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกัน
2.              เรื่องการตรวจ ความปลอดภัย ทุกคนสามารถเข้ามาดู หรือ ลงข้อมูลได้และสามารถ Track ข้อมูลได้
 ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล
ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูลนั้น มีประโยชน์ต่อองค์กรช่วย ให้องค์การสามารถควบคุมข้อมูลแบบรวมศูนย์ได้ดังนี้
1. ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสามารถใช้ร่วมกันได้) ตัวอย่างเช่น โปรแกรมระบบเงินเดือน สามารถเรียกใช้ข้อมูลรหัสพนักงานจากฐานข้อมูลเดียวกับโปรแกรมได้
2. ระบบฐานข้อมูลสามารถช่วยให้มีความซ้ำซ้อนน้อยลง  
3. ระบบฐานข้อมูลช่วยหลีกเลี่ยงหรือลดความไม่คงที่ของข้อมูล  
4. ระบบฐานข้อมูลสามารถช่วยรักษาความคงสภาพหรือความถูกต้องของข้อมูลเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานข้อมูลทีโดยไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
5. สามารถบังคับใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย และสามารถบังคับให้เกิดมาตรฐานได้



1025จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์และแบบเรียลไทม์
ตอบ
       การประมวลผลแบบแบทซ์ (Batch Processing) คือการประมวลผลโดยการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะนำข้อมูลเข้าเครื่อง เพื่อประมวลผลในคราวเดี่ยวกัน เช่น 7 วัน หรือ 1 เดือน แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว เช่น การคำนวณค่าบริการน้ำประปา โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ 1 เดือน แล้วนำมาประมวลผลเป็นค่าน้ำประปาในครั้งเดียวการประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง เนื่องจากข้อมูลอาจเกิดความคลาดเคลื่อนก่อนการประมวลผล แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย
การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processing) เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูลทันที เช่น การฝากและถอนเงินกับธนาคาร เมื่อลูกค้าฝากเงิน ข้อมูลนั้นจะถูกประมวลผลทันที ทำให้ยอดเงินฝากในบัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงการประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น